ข้อมูลทั่วไป
๑. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลเมืองนครปฐม
๑.๑ สภาพทั่วไปของตำบล
เทศบาลเมืองนครปฐม เป็นหน่วยราชการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองนครปฐม ลงวันที่ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ปัจจุบันนายกเทศมนตรีเมืองนครปฐมมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนภายในตำบลนครปฐม ตามมาตรา ๔๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติม (ถึงฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.๒๕๕๒
ดวงตราเทศบาลเมืองนครปฐม
สัญลักษณ์ดวงตราเทศบาลเมืองนครปฐมเป็นรูปวงกลม ด้านขอบบนมีคำว่า “เทศบาลเมืองนครปฐม” ด้านขอบล่างมีคำว่า “ จังหวัดนครปฐม ” และมีรูปมัดข้าวตรงด้านข้างทั้งสองด้าน ซึ่งมัดข้าวแสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม ภายในวงกลมมีรูปองค์พระปฐมเจดีย์ พระร่วงโรจนฤทธิ์ และโต๊ะจีน โดยองค์พระปฐมเจดีย์แสดงให้เห็นถึงสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงอำเภอเมืองนครปฐม ส่วนพระร่วงโรจนฤทธิ์ แสดงให้เห็นถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐมเคารพนับถือศรัทธา ส่วนโต๊ะจีน แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐมซึ่งมีอาชีพโต๊ะจีนเลื่องชื่อจำนวนมาก
๑.๒ ที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลเมืองนครปฐม ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๑๗ หมู่ที่ ๒ ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลนครปฐมทั้งตำบล จำนวน ๘ หมู่บ้าน ตำบลนครปฐมมีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน ๒๒.๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๓,๘๗๕ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | ตำบลตาก้อง และตำบลทัพหลวง |
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | เทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | ตำบลบ่อพลับ และตำบลมาบแค |
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | ตำบลวังตะกู และตำบลหนองปากโลง |
แผนที่ ที่ตั้งและอาณาเขต
๑.๓ แบ่งเขตการปกครองเป็น ๘ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
- หมู่ที่ ๑ บ้านหุบชบา
- หมู่ที่ ๒ บ้านนาสร้าง
- หมู่ที่ ๓ บ้านปิ่นเกลียว
- หมู่ที่ ๔ บ้านนาข้าวสุก
- หมู่ที่ ๕ บ้านนาขุม
- หมู่ที่ ๖ บ้านทุ่งเผาเต่า
- หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งน้อย
- หมู่ที่ ๑๐ บ้านนาหุบ
แผนที่เขตการปกครอง
๑.๔ ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม เป็นพื้นที่ราบลุ่มดินดำเหมาะแก่การเกษตรกรรม เป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท เหมาะแก่การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตรเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทานโดยอาศัยแหล่งน้ำในคลองชลประทานที่ไหลผ่านในการทำการเกษตรได้ตลอดปี
๑.๕ ลักษณะภูมิอากาศ
มีสภาพภูมิอากาศเหมือนกับจังหวัดทั่วไปในภาคกลาง แบ่งเป็น ๓ ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือน พฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม
๑.๖ ประชากร
ประชากรในเขตเทศบาลเมืองนครปฐมมีครัวเรือน ๕,๑๒๗ ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น ๑๑,๖๙๔ คน แยกเป็นชาย ๕,๕๒๐ คน หญิง ๖,๑๗๔ คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๕๑๓ คน/ตารางกิโลเมตร
ประชากรเทศบาลเมืองนครปฐมสามารถแยกเป็นหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
จำนวนครัวเรือน |
๑ |
บ้านหุบชบา |
๖๒๔ |
๗๑๐ |
๑,๓๓๔ |
๔๔๘ |
๒ |
บ้านทุ่งนาสร้าง |
๖๗๙ |
๗๒๖ |
๑,๔๐๕ |
๖๑๑ |
๓ |
บ้านปิ่นเกลียว |
๔๙๔ |
๕๕๙ |
๑,๐๕๓ |
๗๘๔ |
๔ |
บ้านนาข้าวสุก |
๖๑๓ |
๗๐๗ |
๑,๓๒๐ |
๔๑๕ |
๕ |
บ้านนาขุม |
๑,๑๒๔ |
๑,๒๗๓ |
๒,๓๙๗ |
๑,๑๔๘ |
๖ |
บ้านทุ่งเผาเต่า |
๔๗๓ |
๔๗๙ |
๙๕๒ |
๒๓๖ |
๙ |
บ้านทุ่งน้อย |
๖๗๘ |
๗๖๖ |
๑,๔๔๔ |
๗๖๔ |
๑๐ |
บ้านนาหุบ |
๘๖๐ |
๙๖๗ |
๑,๘๒๗ |
๗๘๕ |
รวม |
๕,๕๔๕ |
๖,๑๘๗ |
๑๑,๗๓๒ |
๕,๑๙๑ |
ที่มา สำนักบริหารการทะเบียนอำเภอเมืองนครปฐม ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒. สภาพทางเศรษฐกิจ
๒.๑ อาชีพ
- ผู้ประกอบการโต๊ะจีน, รับจ้างโต๊ะจีน, รับจ้างทั่วไป, ทำสวน, เลี้ยงสัตว์, ค้าขาย, รับราชการ ,ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก และทำการเกษตร
๒.๒ หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม
ธนาคาร |
- |
แท่ง |
โรงแรม |
- |
แท่ง |
ปั้มน้ำมัน |
๒ |
แท่ง |
ปั้มแก๊สหรือก๊าซ |
- |
แท่ง |
โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก |
๑๐ |
แท่ง |
โรงสี |
- |
แท่ง |
๓. สภาพทางสังคม
๓.๑ การศึกษา |
||
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนาสร้าง |
๑ |
แห่ง |
โรงเรียนประถมศึกษา |
๑ |
แห่ง |
โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง |
๑ |
แห่ง |
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน |
๑ |
แห่ง |
แหล่งเรียนรู้ชุมชน |
๘ |
แห่ง |
๓.๒ สถาบันและองค์กรทางศาสนา |
||
วัด/สำนักสงฆ์ |
๑ |
แห่ง |
มัสยิด |
- |
แห่ง |
ศาลเจ้า |
๕ |
แห่ง |
โบสถ์ |
- |
แห่ง |
๓.๓ สาธารณสุข |
||
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสร้าง |
๑ |
แห่ง |
สถานพยาบาลเอกชน |
- |
แห่ง |
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน |
๓ |
|